สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพรรณไม้

ข่า , ข่าหบวก , ข่าหลวง

รหัสพรรณไม้

7-50100-001-044



บริเวณที่พบ : อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ฯ
ลักษณะพิเศษของพืช : พืชผักสวนครัว, สมุนไพร
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุกเหง้าใต้ดิน มีข้อปล้องชัดเจน ดอกสีขาวครีมอมเขียว
ลำต้น : เป็นกอ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีน้ำตาลอมแสดมีเส้นแบ่งข้อช่วงสั้นๆ เนื้อในเหง้ามีสีขาว รสขม เผ็ดร้อน แต่ไม่เผ็ดเหมือนกับขิง มักมีกลิ่นหอมฉุน
ใบ : เดี่ยว ใบยาวปลายใบมนขอบใบเรียบ ก้านใบยาวเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน
ดอก : เป็นช่อสีขาวนวล
ผล : กลมสีแดงส้มมีรสเผ็ดร้อน
ประโยชน์ :
- ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้วช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
- ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น
- สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
- ใช้ไล่แมลงโดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดเพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา แล้วนำไปวางในบริเวณที่มีแมลง
- ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้าคือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหารผงจากผลแห้งสามารถรักษา อาการปวดฟันโดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด



พิกัด : 


โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ เลขที่ 22 ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
Copyright © 2020 by Wattanothaipayap School. All Rights Reserved.